วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปผลการเรียนครั้งที่ 3

แปลสรุปข่าว 
ควรจัดเรียงบล๊อคให้ดี จัดภาพประกอบย่อขยายได้ 
ตัวสรุปแล้วอยู่ด้านบน อ้างอิงเนื้อหาด้านล่าง
ก่อนที่เราจะพรีเช้นงานต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นก่อน
Title : ชื่อ    
Layout : Favican(เปลี่ยนรูป) 
             Navbar(การเปลี่ยนสีหัวด้านบน)
             Add a gadget(การดูคนที่เข้ามา)
             เวลาเข้าเรียนไปเขียนบล็อค compose คือภาพที่เราเห็นปกติhtmlจะเป็นลิงค์ 
             Description(เขียนคำอธิบาย)
การออกแบบแบรนด์ทำฟอนต์เองจะดีกว่า ต้องกำหนดสี(Theme) 
ทำสินค้าต้องทำรหัสแท่งเอง (บาร์โค้ด)
การบ้าน
สอบปฏิบิติ Logosocity มีโลโก้ให้นักศึกษาเข้าไปหาใน font.com
เข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ Chandrakasem.info
ออกแบบตรา +เข็มกลัด 
Designcrowd เป็นงานออกแบบต่างๆ
หาข้อมูล visual analysis ศึกษาการทำโปรดักสปา.

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง (Product and Package Visual Analysis)



การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)


โดย นางสาววิลาสินี ปานแก้ว
27 มกราคม 2558



ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้อ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ



ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป

การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ


วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบ 
มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการ ใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดง หลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดง ทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน

ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นแชมพูออยล์มะกรูดตราPimnuttha

                    หมายเลข 1     ฝาผลิตภัณฑ์
                      หมายเลข 2     สติ้กเกอร์ฉลาก
                      หมายเลข 3     ชื่อโลโก้ผู้ผลิตPimNuttha
                      หมายเลข 4     ชื่อผลิตภัณฑ์
                      หมายเลข 5     สรรพคุณของสินค้า (แชมพู)
                      หมายเลข 6     ชื่อภาษษอังกฤษของชนิดผลิตภัณฑ์
                    หมายเลข 7     ชื่อเจ้าของผู้ผลิต
                      หมายเลข 8     ส่วนผสมสำคัญ
                      หมายเลข 9     วิธีใช้
                      หมายเลข 10    ผลิตและจัดจำหน่าย
                      หมายเลข 11    ปริมาตรความจุ

การศึกษาสินค้าคู่แข่ง
สินค้าของผู้ประกอบการ


 
http://upic.me/i/da/p1090631re.jpg

        http://www.weloveshopping.com/shop/health-mee/01073.jpg









วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์





10933957_739339809498333_4183263661143354126_n.jpg





คำจำกัดความ คำว่าบรรจุภัณฑ์ และ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ ได้มีผูจำกัดความไว้มากมายในที่นี้จำใช้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกับความหมายที่การสารสื่อมากที่สุด
 การบรรจุ หมายถึง กระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตภาชนะบรรจุและบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในภาชนะบรรจุโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลิตภัณฑ์นั้นไปถึงผู้บริโภคในสภาพที่สมบูรณ์
ภาชนะบรรจุ หมายถึงภาชนะหรือโครงสร้างใดๆที่ใช้เพื่อบรรจุ ห่อหุ้ม หรือรวบรวมผลิตภัณฑ์ให้เป็นหน่วยเพื่อนำส่งผลิตภัณฑ์ถึงผู้บรโภคในสภาพที่สมบูรณ์นอกจากนั้นรวมถึงฉลากและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการมัดหรือปิดภาชนะบรรจุ

สรุป  บรรจุภัณฑ์คือสิ่งที่ใช้ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัยในการจัดส่งสินค้าให้ผู้บริโภค
อ้างอิงโดย :หนังสือเอกสารประกอบการสอนหลักการบรรจุ (Principles of Packaging)
ผู้เขียน  :ผศ.ดร.งามทิพย์ ภู่วโรดม



10354145_739339979498316_4224057535178988020_n.jpg

 
ศัพท์คำว่าบรรจุภัณฑ์ ได้รับการกล่าวอย่างกว้างๆแต่มักจะใช้คำว่า  ภาชนะบรรจุภัณฑ์ กับ บรรจุภัณฑ์
อย่างสับสน ทั้ง2คำนี้แตกต่างกัน คือ ถ้าหากเราซื้อน้ำปลามาหนึ่งขวด ขวดเป็นบรรจุภัณฑ์ แต่เมื่อเราจะนำมาบริโภคเราต้องเทใส่ถ้วยเล็กๆนั้นจึงเรียกว่าภาชนะบรรจุภัณฑ์

นิยาม :บรรจุภัณฑ์ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าในการจัดจำหน่ายเพื่อสนองความต้องการผู้   
            ซื้อหรือผู้บริโภคด้วยต้นทุนที่เหมาะสม.
สรุป คำว่าบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุภัณฑ์มีคำพูดที่คล้ายกันแต่มีความหมายต่างกันขึ้นอยู่กับการ
       ใช้สอย

อ้างอิง : หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร
ผู้เขียน :  ปุ่น คงเจริญเกียรติ , สมพร คงเจริญเกียรติ
        
1907937_739358459496468_2716290366684155162_n.jpg

ความหมายและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์
ความหมายกว้างๆมี 2 ประการ คือ
การบรรจุภัณฑ์ คือ ศิลปะ วิทยาศาตร์ และเทคโนโลยีของการเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่งและการขาย
การบรรจุภัณฑ์ คือ วิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยสมบูรณ์และมี
                              ราคาที่เหมาะสม

NIKAIDO (LECTURE) : “บรรจุภัณฑ์เป็ฯเทคนิคที่ส่งเสริมการขายกับการประสานประโยชน์ระหว่างวัตถุ   
                                       กับภาชนะบรรจุโดยมีความมุ่งหมายเพื่อการคุ้มครองในระหว่างการขนส่งและ
                                       การเก็บรักษาในคลัง”

“ONE UNIT OF A PRODUCT UNIFORMRY PROCESSED,WRAPPED OF SEALED IN A SHEATH OR CONTAINER, AND LABELED FOR MARKETING.” (A)
“หน่วยของสินค้าที่มีการปกปิด,ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ที่บรรจุไว้ภายในโดยมีฉลากหรือข้อมูลทางการค้า
ปรากฎไว้”

สรุป   บรรจุภัณฑ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์มันมีไว้เพื่อป้องกันสินค้าเวลาคนส่งและเก็บรักษาโดยบรรจุภัณฑ์
        จะต้องมีฉลากและข้อมูลกำกับไว้
ผู้เขียน  ประชิด ทิณบุตร


10881501_739340212831626_6150518168012397279_n.jpg
10407119_739340642831583_7223511868196455850_n.jpg
                                                                  
packaging design is one of the most exiting in the world of retailing multi-disciplinary,multi-industry ,it crosses numerous boundaries.
All the work that goes into one pack design is aimed at that moment when the buyer sees the pack and recognizes it from any advertsing the marker carries out. or is compelled to buy it because of the power to the pack design alone.

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการค้า มีการส่งออกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมมากมาย
ทุกบรรจุภัณฑ์จะต้องมีการออกแบบเพื่อที่ผู้พบเห็น เห็นสินค้าแล้วจำได้หรือเป็นการบังคับเพื่อซื้อมัน
เพราะอำนาจในการที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้ออยู่ที่การออกแบบเพียงอย่างเดียว.

สรุป การออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้า
ผู้เขียน :Steven sonsino




10885034_739327292832918_7965520205449680284_n.jpg




packaging is a reflection of our consumer society and to a large extent it has helped shape the world we live in. it help us transport vast quantities of goods from continent to continent. and town to town. it preserves and protect out food from contamination. it allows us to inhabit the convenience culture,which pervades every aspect of modern life. it adds value and texture to the product we buy.

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาพสะท้อนของสังคมผู้บริโภคของเราและในขอบเขตขนาดใหญ่ที่เราอาศัยอยู่. มันช่วยให้เราขนส่งสินค้าในปริมาณมหาศาลจากทวีปสู่ทวีป และเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งที่จะเก็บรักษาและป้องกันการปนเปื้อนของอาหาร มันช่วยให้เราความสะดวกและมีความรวดเร็วทันสมัย และมันยังเพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จะเราเลือกซื้อ

สรุป  บรรจุภัณฑ์ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือและน่าซื้อ อีกทั้งยังช่วยปกป้องสินค้าที่เราส่ง
        ออกไปยังทวีปและเมืองต่างๆ
เขียนโดย   Laurel Miler&Stephen Aldrige